ประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด บ้านมืองสองจากกรมบังคับคดีและข้อควรรู้

Auction-Home

การประมูลทรัพย์สินต่างๆไม่ว่าจะเป็น บ้านมือสอง คอนโด ที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่นๆจากกรมบังคับคดีก็เป็นอีกหนึ่งวิธีสำหรับผู้ที่กำลังมองหาทรัพย์สินราคาถูกไว้ครอบครอง ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจว่า การไปประมูลทรัพย์จากกรมบังคับคดี มีขั้นตอนและควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ทรัพย์สินขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดี คืออะไร

ทรัพย์สินขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดี คือ การที่ลูกหนี้ หรือผู้กู้ถูกฟ้องร้องแล้วไม่ได้ชดใช้หนี้นั้นแก่เจ้าหนี้ได้ ทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้ที่ถูกฟ้องก็ต้องถูกยึดแล้วนำมาขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชดใช้แก่เจ้าหนี้ กรมบังคับคดีจึงมีหน้าที่ยึดทรัพย์สินต่่างๆของลูกหนี้ หรือจำเลย เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน มาประกาศประมูลขายตามคำสั่งของศาล เรียกว่า หมายเลขคดีแดง

เตรียมตัวก่อนไปประมูลทรัพย์สินขายทอดตลาด จากกรมบังคับคดี

prepare

1. ค้นหาทรัพย์สินที่ต้องการประมูล

โดยสามารถค้นหาทรัพย์สินขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดีได้จาก เว็บไซต์กรมบังคับคดี หรือ แอปพลิเคชัน LED Property Plus และอีกหนึ่งวิธีก็คือ หากทรัพย์สินนั้นถูกกรมบังคับคดียึด ก็จะมีหมายจากรัมบังคับคดี หรือหนังสือมาติดไว้ที่ทรัพย์นั้น เช่น บ้าน ก็จะมีหนังสือมาติดไว้หน้าบ้าน ด้วยข้อความว่า “ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี เรื่องการยึดทรัพย์”  เราก็สามารถรอหนังสือประกาศประมูลขายทอดตลาด หลังจากนั้นก็ไปตาม วัน เวลา ที่เปิดประมูลได้เลย การดูทรัพย์ลักษณะนี้เราจะสามารถรู้ว่าสภาพทรัพย์นั้นเป็นอย่างไร ถูกใจหรือไม่ หากท่านใดดูทรัพย์ขายทอดตลาดจากเว็บไซต์ หากถูกใจแล้วก็ต้องไปดูทรัพย์ตัวจริงก่อนเข้าประมูลด้วย

2. เอกสารที่ต้องเตรียมและเงินประกัน

เอกสารที่ต้องเตรียมในการประมูลบ้านจากกรมบังคับคดีใช้เพียงบัตรประชาชนพร้อมสำเนาบัตรประชาชนเท่านั้น หากมีความประสงค์ให้ผู้อื่นเข้าประมูลแทนให้ใช้หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 30 บาท ส่วนเงินประกันให้เตรียมเงินประกันตามจำนวนที่กรมบังคับคดีกำหนดไว้ หากสงสัยสามารถโทนสอบถามได้ที่ 02-881-4999 สายด่วยกรมบังคับคดี

ขั้นตอนการประมูลทรัพย์สินขายทอดตลาด จากกรมบังคับคดี

auction

1. ลงทะเบียนเข้าประมูล

ผู้ที่ประสงค์เข้าประมูลทรัพย์จากกรมบังคับคดีต้องเข้าลงทะเบียนเข้าประมูลก่อน แล้ววางเงินหลักประกันตามที่กรมบังคับคดีกำหนดไว้ ราคาเงินประกันจะขึ้นอยู่กับราคาทรัพย์ที่ประมูล แล้วจึงรับป้ายประมูลเข้าเตรียมเสนอราคาประมูลที่ห้องประมูลทรัพย์

Price

จำนวนเงินที่ต้องวางเป็นหลักประกันก่อนเข้าประมูลยึดตามราคาของทรัพย์ที่ต้องประมูล

2.เจ้าพนักงานกำหนดราคาเริ่มประมูล

ก่อนการเริ่มประมูลทรัพย์จากกรมบังคับคดี เจ้าหน้าที่จะอธิบายเงื่อนไขและบอกข้อมูลให้ทราบพอสังเขป รวมถึงรายละเอียดของคดี สอบถามผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย เช่น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษารายใดมาดูคำพิพากษา และประกาศราคาเริ่มต้นของการขายทอดตลาด

  • การประมูลรอบที่ 2 (การขายครั้งที่ 1 ไม่มีผู้สู้ราคา) เจ้าหน้าที่จะกำหนดราคาเริ่มต้นเหลือ 90% ของราคาเริ่มต้นของครั้งที่ 1
  • การประมูลรอบที่ 3 (การขายครั้งที่ 2 ไม่มีผู้สู้ราคา) เจ้าหน้าที่จะกำหนดราคาเริ่มต้นเหลือ 80% ของราคาเริ่มต้นของครั้งที่ 1
  • การประมูลรอบที่ 4 (การขายครั้งที่ 3 ไม่มีผู้สู้ราคา) และครั้งต่อๆไป เจ้าหน้าที่จะกำหนดราคาเริ่มต้นเหลือ 70% ของราคาเริ่มต้นของครั้งที่ 1

3.การยกป้ายเสนอราคา

เมื่อเจ้าหน้าที่กำหนดราคาเริ่มต้นและเปิดประมูลแล้ว ผู้เข้าประมูลสามารถเสนอราคาตามราคาเริ่มต้นได้ หากมีผู้เสนอราคามากกว่า ผู้เข้าประมูลสามารถยกป้ายเพื่อเสนอราคามากกว่าผู้ประมูลท่านอื่นได้ โดยเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้กำหนดว่าจะเพิ่มราคาครั้งละเท่าไร ผู้เข้าประมูลสามารถเสนอราคาเท่ากับหรือมากกว่าได้

4.เจ้าหน้าที่เคาะไม้ให้ผู้ที่ชนะการประมูล

เมื่อบ้านถูกประมูลได้ราคาสูงสุด เจ้าหน้าที่ก็จะถามหาผู้ค้าน ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียสำหรับทรัพย์สินนั้นๆ (ตัวแทนจากโจทก์หรือจำเลย) หากไม่มีผู้ใดค้าน เจ้าหน้าที่ก็จะเคาะไม้ขายบ้านหรือทรัพย์สินนั้นให้กับผู้ที่ชนะการประมูล ผู้ที่แพ้การประมูลก็รับเงินประกันคืน ส่วนผู้ที่ชนะการประมูลก็ชำระเงินและรับโอนกรรมสิทธิในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนการประมูลทรัพย์สินขายทอดตลาด จากกรมบังคับคดี ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

สำหรับการประมูลทรัพย์จากกรมบังคับคดีอีกหนึ่งช่องทางที่สะดวกก็คือ การประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือ (e-Offering Auction) ซึ่งมีทั้งหมด 9 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น นครปฐม สุราษฎร์ธานี สงขลา เชียงใหม่ พิษณุโลก นนทบุรี ชลบุรี เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน  โดยผู้ที่สนใจต้องลงทะเบียนจองอุปกรณ์ล่วงหน้า ณ สำนักงานบังคับคดีที่ต้องการใช้บริการ

ขั้นตอนการประมูลทรัพย์สินขายทอดตลาด จากกรมบังคับคดี ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

ค้นหาทรัพย์สินที่สนใจ
เข้าสู่เว็บไซต์ของกรมบังคับคดี คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์กรมบังคับคดี หัวข้อ e-service เลือกขายทอดตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์ เลือกทรัพย์ที่สนใจแล้วจำลำดับทรัพย์นั้นไว้

ขั้นตอนจองเครื่อง
เมื่อได้ทรัพย์ที่สนใจแล้ว ต้องติดต่อจองเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมกับบอกลำดับทรัพย์ที่สนใจกับสำนักงานนั้นๆ

การวางเงินประกัน
ในวันที่ประมูลทรัพย์ ให้ทำการตรวจสอบลำดับทรัพย์กับเครื่องที่ให้ไว้กับสำนักงาน หลังจากนั้นให้ทำการวางเงินประกันกับเจ้าหน้าที่

รับรหัส
เจ้าหน้าที่มอบรหัสผู้ใช้ กับรหัสผ่านให้กับผู้เข้าประมูล และแจ้งรายละเอียด ข้อห้ามต่างๆสำหรับการเข้าประมูล จากนั้นรอลำดับทรัพย์ที่จองไว้ที่จะทำการขาย

การประมูล
เมือการประมูลมาถึงลำดับที่เราจองไว้ เจ้าหน้าที่จัดประมูลจะแจ้งให้ทราบ ให้เรากรอกรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่าน รอสัญญาณแล้วเริ่มการประมูล

ประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดได้แล้วควรทำอย่างไร

1.ทำสัญญาซื้อขาย
ผู้ชนะการประขายทอดตลาด กรมบังคับคดีจะทำสัญญาซื้อขายและให้ชำระราคาตามจำนวนที่ประมูลไว้ หากในกรณีผู้ชนะการประมูลอยู่ระหว่างรอรวบรวมเงิน หรือรอผลการอนุมัติสินเชื่อจากธนาคาร ทางกรมบังคับคดีจะขยายเวลาให้ 15-90 วัน โดยต้องมีเอกสารยืนยันจากทางธนาคาร ส่วนเงินประกันจะวางมัดจำหรือขอคืนก็ได้

2.การโอนกรรมสิทธิ์
หลังจากที่ผู้ชนะการประมูลชำระเงินครบเรียบร้อยแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีหนังสือถึงกรมที่ดิน พร้อมมอบเอกสารสิทธิ์และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ชนะการประมูลดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ด้วยตนเอง ณ สำนักงานที่ดิน

3.การชำระค่าใช้จ่าย
การประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดกับกรมบังคับคดี มีค่าใช้จ่ายหลายอย่างที่ต้องชำระ โดยแบ่งเป็น 3 ที่ดังนี้

สำนักงานบังคับคดี

  • เงินวางเป็นหลักประกันขึ้นอยู่กับราคาประเมิณของทรัพย์นั้นๆ ดูได้จากหัวข้อที่ 1 ลงทะเบียนเข้าประมูล
  • เงินที่ต้องชำระหากประมูลได้ อาจเป็นเงินส่วนตัว หรือยื่นกู้ธนาคารก็ได้ โดยหากต้องการยื่นกู้ธนาคาร แนะนำให้ทำเรื่องกับธนาคารไว้ก่อนเพื่อความรวดเร็วหากเราชนะการประมูล
  • อากรณ์แสตมป์ 0.5% ของราคาประมูลได้

สำนักงานที่ดิน

  • ค่าโอน 2% ของราคาประเมินที่ดิน
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดนคิดจากราคาประเมินของสำนักงานที่ดิน หักด้วยค่าใช้จ่ายตามที่สรรพากรกำหนดแล้วนำมาคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ภาษีธุกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมินที่ดิน
  • ค่าจำนอง 1% ของวงเงินจำนอง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

ธนาคาร (หากมีการจำนองที่ธนาคาร)

  • ค่าประเมินทรัพย์สิน
  • อากรณ์แสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
  • ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย

เนื้อหาทั้งหมดนี้คือขั้นตอนและวิธีการประมูลทรัพย์หรือบ้านมือสองขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดี ซึ่งวิธีการซื้อบ้านมือสองจากกรมบังคับคดีก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ได้มาซึ่งบ้านราคาถูกกว่าท้องตลาด หากเราได้บ้านที่สภาพดีก็ทำให้เราประหยัดเงินได้อีกหลายบาทเลยทีเดียว

 Download คู่มือประมูลบ้านมือสองจากกรมบังคับคดี คลิกที่นี่

ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจากเว็บไซต์
กรมบังคับคดี – Legal Execution Department
https://www.led.go.th

บทความที่เกี่ยวข้อง

Chanodes.com / แหล่งซื้อขายที่ดินโฉนดราคาถูก เจ้าของขายเอง

เลือกซื้อ ขาย ที่ดินโคราช บ้านโคราช หรือจะเช่าที่ดินโคราช ได้ง่ายๆที่ Chanodes.com

ให้ประสบการณ์การซื้อ ขาย บ้านและที่ดินเป็นเรื่องง่ายๆกับเว็บไซต์ Chanodes.com เราคือผู้ให้บริการด้านการขาย บ้าน ที่ดินโคราช ที่มีช่องทางการขายหลากหลายช่องทาง เช่น Tiktok Facebook Youtube และอีกหลายช่องทาง พร้อมทีมงานมืออาชีพที่จะช่วยให้คุณสามารถขายบ้านและที่ดินได้ง่ายๆพร้อมให้ความรู้เรื่องที่ดิน ขั้นตอนการดำเนินการที่จะช่วยให้การขายของคุณเป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน หรือบริการบ้าน ที่ดินให้เช่า เราพร้อมดูแลคุณ ที่ Chanodes.com คุณจะพบกับอสังหาริมทรัพย์ทั้งประกาศขาย หรือให้เช่า บ้านสวยทำเลดี ที่ดินแปลงสวย ตึกอาคารพาณิชย์ให้เช่า หลากหลายรายการ บนเว็บไซต์ขายที่ดินออนไลน์ Chanodes.com เรามีสินทรัพย์มากมายที่ครอบคลุมความต้องการของคุณ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน บ้าน อาคารพาณิชย์ เจ้าของขายเอง มั่นใจว่าได้ราคาที่ถูกพร้อมการดูแลตลอดการขาย คุณสามารถค้นหาตำแหน่งที่ดิน บ้าน ที่คุณต้องการได้โดยระบุตำแหน่งที่ต้องการ หรือจะให้เราช่วยหาก็ได้เพื่อให้ได้สินทรัพย์ที่ตรงความต้องการของคุณ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *